[CASTING SIMULATION] อินเทอร์เฟซข้อมูล CT และเครื่องมือทำนายข้อบกพร่อง ADSTEFAN (ADPT) โดยใช้ VGSTUDIO MAX
เนื้อหานี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอในที่ประชุมเมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2565 ณ โรงแรม Bangkok Marriott สุขุมวิท ซึ่งจัดขึ้นโดย Hexagon Manufacturing Intelligence
ข้อสรุป
- ข้อมูล 3D ที่สแกนด้วย CT สามารถใช้งานเพิ่มเติมได้ผ่าน VGSTUDIO MAX, การวิเคราะห์ CT โดย Volume Graphics และ ซอฟต์แวร์การสร้างภาพ
- อัลกอริธึมในการการกำหนดพื้นผิวใน VGSTUDIO MAX ช่วยให้ข้อมูลที่ได้จากระบบ CT มีการส่งออกข้อมูล 3D ที่มีคุณภาพสูงและเป็นประโยชน์
- VGSTUDIO MAX สามารถเป็นส่วนต่อในการประสานงานระหว่างข้อมูล CT และซอฟต์แวร์อื่นๆ เช่น Casting CAE และ Q-DAS
ADPT ใน ADSTEFAN คืออะไร?
ADSTEFAN เป็นซอฟต์แวร์จำลองการหล่อที่พัฒนาขึ้นจากโครงการความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา โดยเปิดตัวที่มหาวิทยาลัยโทโฮกุ นำโดยศาสตาจารย์ นิยามะ และ ศาสตาจารย์ อันไซ ซึ่งพารามิเตอร์นิยามะ (Niyama Criterion) คือการไล่ระดับอุณหภูมิและอัตราการระบายความร้อน ถูกคิดค้นขึ้นโดยศาสตาจารย์ นิยามะ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลก พารามิเตอร์นี้ถูกนำไปใช้ในโปรแกรมซอฟต์แวร์ CAE อื่นๆอีกมากมาย โดยซอฟต์แวร์จำลองการหล่อ ADSTEFAN ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่นภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท Hitachi Industry & Control Solutions, Ltd.
ADPT (Advanced Defect Prediction Tool) คือเครื่องมือทำนายข้อบกพร่องของ ADSTEFAN โดยใช้ข้อมูลที่เกิดจากการหล่อจริงและผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการจำลองการหล่อนำมาเป็น “teaching data” เพื่อสร้างฐานข้อมูลการทำนายข้อบกพร่อง โดยใช้การเรียนรู้จากเครื่อง จากนั้นจะแสดงผลความน่าจะเป็นที่จะเกิดข้อบกพร่องขึ้นโดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมในการหล่อจริง
โมเดลในการทำนายจะเชื่อมโยงโดยตรงกับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดปัญหาความพยายามในการ “fitting” และทำให้การจำลองสำหรับการออกแบบและผลิตภัณฑ์ใหม่แม่นยำยิ่งขึ้น
ก่อนจะทำการใช้ ADPT จำเป็นต้องเตรียมข้อมูลข้อบกพร่องที่ได้จากการหล่อจริง ที่ได้มาจากการทำ CT หรือ X-ray โดยข้อมูลที่จำเป็นคือ ประเภทของข้อบกพร่อง และ อัตราส่วนในการเกิดขึ้นในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งขั้นตอนในการลงทะเบียนข้อมูลข้อบกพร่องอาจต้องใช้เวลานานเล็กน้อย เนื่องจากต้องมีการแก้ไขmeshด้วยตนเอง โดยเฉพาะ shrinkage porosity ซึ่งมักจะอยู่ข้างใน mesh model
การนำเข้า ADSTEFAN ADPT โดยใช้ข้อมูล CT
1. การแยกข้อมูล CT ต่างๆโดยใช้ VGSTUDIO MAX:
ข้อมูล3D ที่ผ่านการสแกนด้วยCTสามารถส่งออกได้ด้วย VGSTUDIO MAX ด้วยอัลกอริธึม การกำหนดพื้นผิวที่แข็งแรง ซึ่งแบ่งเส้นกำหนดของผลิตภัณฑ์ในความแม่นยำของ subvoxel ซึ่งจะรักษาคุณภาพของข้อมูล 3D โดยการส่งออกข้อมูล 3D ไม่เพียงใช้ได้แต่กับรูปทรงของผลิตภัณฑ์เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้กับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายในด้วย และข้อมูล 3D ที่ส่งออกจะเป็นโมเดลสามมิติ ซึ่งแตกต่างจากโมเดลพื้นผิวที่ได้จากข้อมูล point cloud ที่มาจากการสแกนด้วยเครื่อง 3D
2. การแก้ไขพิกัดก่อนส่งออกข้อมูล 3D:
เป็นสิ่งที่ดีที่จะทำการจัดแนวพิกัดก่อนทำการส่งออกข้อมูล 3D ตัวอย่างเช่น แบบจำลองการหล่อ ทิศทางของแรงโน้มถ่วงควรอยู่ในแนวเดียวกันกับพิกัดใดพิกัดหนึ่ง และในอีกแกนหนึ่งควรมีความสอดคล้องกับทิศทางในการไหลเข้า โดย VGSTUDIO MAX มีวิธีการต่างๆในการจัดการกับพิกัด
3. การนำเข้าข้อมูลข้อบกพร่อง 3D ไปยัง ADSTEFAN:
ข้อมูล 3D ของข้อบกพร่องที่ส่งออกในรูปแบบ STL โดย VGSTUDIO MAX สามารถนำเข้าไปยัง ADSTEFAN ร่วมกับข้อมูลโมเดล as-cast โดย meshต่างๆจะถูกสร้างขึ้นอย่างง่ายดาย โดยการใช้ข้อมูล STL ทำให้ประหยัดเวลาในการแก้ไขmesh จากนั้นเพื่อที่จะให้ ADSTEFAN ADPT ได้เรียนรู้ข้อมูลข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจริง เราจะต้องทำการลงทะเบียนประเภทของข้อบกพร่อง และอัตราส่วนการเกิดขึ้นในแต่ละ mesh หากมีการเตรียมข้อมูลที่ดี จะทำให้กระบวนการนี้ใช้เวลาเพียงไม่นาน
หากคุณมีคำถามใดๆ โปรดติดต่อเรา
ติดต่อ:
โรบิน เซอิโนะ (มือถือ: 083 064 2112)
วิภาวี เสวตวิหารี (มือถือ: 083 064 6976)