Asahi Transnational

    
 
2023-08-09

[NDT] ใบอนุญาตนำเข้าเครื่องเอ็กซเรย์อุปกรณ์ตรวจสอบอุตสาหกรรมในประเทศไทย

X-ray Import License in Thailand

 

บริษัทที่ต้องการนำเข้าเครื่องเอ็กซเรย์อุปกรณ์ตรวจสอบเข้ามาในประเทศไทยจำเป็นต้องมีใบอนุญาตนำเข้าที่ออกโดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (OAP) นี่คือบทสรุปของการสมัคร

 

■ สมัครได้ที่ไหน
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (OAP)
https://www.oap.go.th/services/1

 

■ ขั้นตอนการสมัคร
ต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้:
1. แบบฟอร์มการขอใบอนุญาตนำเข้าเครื่องกำเนิดรังสี
2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท
3. หนังสือมอบอำนาจ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งของผู้มอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และตัวแทนบริษัท

 

นำเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ณ จุดศูนย์บริการร่วม) งดรับสมัครออนไลน์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566

 

■ ระยะเวลาทำการ
ระยะเวลาในการดำเนินการจะอยู่ภายใน 45 วันนับจากวันที่ยื่นเอกสาร

 

■ อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
ใบอนุญาตการนำเข้าเครื่องกำเนิดรังสี

ใบอนุญาต อัตราค่าธรรมเนียม (บาท)
เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท
เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท
เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 3 ฉบับละ 500 บาท

 

■ การจำแนกเครื่องกำเนิดรังสี

ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี ตัวอย่างการจัดจําแนกประเภทเครื่องกําเนิดรังสี
1
(ชนิดอันตรายมาก)
・เครื่องเร่งอนุภาคสําหรับงานรังสีรักษาทางการแพทย์สําหรับ คน หรือสัตว
・เครื่องเร่งอนุภาคสําหรับงานฉายรังสีอุตสาหกรรม
・เครื่องเร่งอนุภาคสําหรับงานศึกษาวิจัยรวมถึง เครื่องกําเนิดรังสี ซินโครตรอน
・เครื่องเร่งอนุภาคสําหรับการตรวจสินค้าที่ด้านศุลกากร
2
(ชนิดอันตราย)
・เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพรังสีทางอุตสาหกรรม
・เครื่องเอกซเรย์แบบติดตั้งอยู่กับที่รวมถึงเครื่อง Fluoroscopy, Tomography และ Chiropractic radiography
・เครื่องเอกซเรย์สําหรับงานวิเคราะห์ (โดยอยู่ในลักษณะปิดบางส่วน)
・เครื่องซิมูเลเตอร์
・เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
・เครื่องเอกซเรย์แมมโมกราฟฟี่
・เครื่องเอกซเรย์เฉพาะทางเช่น Cardiac Catheterization, Digital Subtraction, Angiography และอื่นๆ – เครื่องเอกซเรย์ฟัน
・เครื่องเอกซเรย์สําหรับตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก
・เครื่องเอกซเรย์สําหรับสัตว์
・เครื่องเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ (Portable X-rays)
3
(ชนิดที่มีโอกาสอันตราย)
・เครื่องเอกซเรย์ตรวจกระเป๋า
・เครื่องเอกซเรย์สําหรับงานวิเคราะห์โดยอยู่ในลักษณะปิดมิดชิด

 

■ การชี้แจ้งการจัดประเภทข้างต้น
ได้ผ่านการพูดคุยกับทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติแล้ว

 

● สำหรับประเภทเครื่องกำเนิดรังสี เจ้าหน้าที่จากทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จะทำการประเมินอีกครั้งเมื่อได้รับเอกสาร
● เครื่องเอกซเรย์สำหรับการถ่ายภาพทางรังสีอุตสาหกรรม เช่น เครื่องเอกซเรย์สำหรับโรงพยาบาลและเครื่องเอกซเรย์สำหรับอุตสาหกรรมที่ตู้ปิดบางส่วนอยู่ในประเภทที่ 2 อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ตรวจสอบรังสีเอกซเรย์ของยี่ห้อ CometYxlon (RT) ของเราที่มีคือตู้แบบปิดหมดจะอยู่ในประเภทที่ 3
● อุปกรณ์ตรวจสอบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) สำหรับการวิเคราะห์ซึ่งเป็นตู้ปิดในบางส่วน เช่น อุโมงค์ CT scan ในโรงพยาบาลเป็นประเภทที่ 2 อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ตรวจสอบ CT เช่น Comet Yxlon CT อุปกรณ์ส่วนใหญ่ในโรงงานที่มีตู้ปิดทั้งหมดจะอยู่ในเป็นประเภทที่ 3

 

ทางเราขอขอบคุณเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำหรับข้อมูลข้างต้นที่อธิบายให้กับเรา

 

■ รายละเอียดเพิ่มเติม
สามารถดาว์นโหลดแบบคำขอรับใบอนุญาต/ใบแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี และทำตามขั้นตอนตามไดที่ลิงค์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ