Asahi Transnational

    
 
2020-10-29

[3D SCAN] กรณีศึกษาการใช้งานเครื่องสแกน3มิติแบบมือถือ:
โรงงานอุตสาหกรรมขึ้นรูปในประเทศไทย

3D Scan Case Study Forging Plant

 

เมื่อไม่นานมานี้ ระบบการตรวจวัด3มิติแบบไม่สัมผัส(เครื่องสแกน3มิติ)ดูจะเป็นประโยชน์มากขึ้นเพราะใช้งานได้หลากหลาย ทั้งการปรับปรุงฟังก์ชันและความถูกต้องแม่นยำตลอดจนประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้การสแกนแบบ3มิติ เช่นเครื่องสแกน3มิติแบบใช้มือจับขนาดเล็ก ที่เคยมีการใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิตที่ผ่านมา ขณะนี้กําลังถูกนํามาใช้อย่างมากในแผนกต่างๆ เช่นการควบคุมคุณภาพ และในครั้งนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับลูกค้าในอุตสาหกรรมขึ้นรูปในประเทศไทย ที่ให้ความสนใจกับเครื่องสแกน 3มิติขนาดเล็กที่มีการใช้งานในช่วงแรกเริ่ม ดังนั้นทางบริษัทเราจึงอยากจะแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการของโรงงานอุตสาหกรรมนี้

 

เกี่ยวกับ บริษัท ยานากาว่า เทคโนฟอร์จ (ไทยแลนด์) จำกัด (YTT)

ในปี 2532 ที่โรงงานปทุมธานีเริ่มผลิตงานด้วยเครื่องขึ้นรูปแฮมเมอร์ ต่อมาเริ่มผลิตงาน Crank Shaft ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของรถมอเตอร์ไซด์ ด้วยเครื่องขึ้นรูปเพรสและงานชุบแข็ง ในปี 2540 เข้าร่วมกับยานากาว่ากรุ๊ป และประสบความสำเร็จในการขยายงานส่งออกงาน Valve Rocker Arm, Wheel Hub ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ไปยังอเมริกา
ในปี 2549 มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็นบริษัท ยานากาว่า เทคโนฟอร์จ (ไทยแลนด์) จำกัด และทำงานขึ้นรูปร้อนของชิ้นงานที่สำคัญๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบเครื่องยนต์ของรถยนต์ ในอนาคต บริษัทจะทำการผลิตชิ้นงานที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบกับผลิตภัณฑ์อื่นในฐานะผู้ชำนาญการงานขึ้นรูปร้อน

 

การทำงานของแผนกขึ้นรูปแม่พิมพ์

การขึ้นรูปเป็นวิธีการผลิตโลหะร้อนกับอุณหภูมิที่สูงและตีในรูปแบบนั้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นคุณลองจินตนาการนึกถึงการตีดาบของพวกช่างตีเหล็ก ในส่วนของ YTT นั้นผลิตโดยการใช้วิธีที่เรียกว่าค้อนตี ขึ้นรูปซึ่งแรงกระแทกจะเกิดจากการตี และเนื่องจากวิธีการผลิตชิ้นส่วนขึ้นรูปนั้นจะมีอายุการใช้งานเพียงแค่ประมาณ 5000ครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นประมาณ 1/10ถึง1/20 ของอุตสาหกรรมการหล่อโลหะ ดังนั้นความถี่ของการซ่อมแซมแม่พิมพ์จึงมีสูง ทางYTTเองก็มีการซ่อมแม่พิมพ์ทุกเดือน ดังนั้นแม่พิมพ์จะถูกแทนที่เกือบทุกวัน แผนกแม่พิมพ์จึงถือเป็นแผนกที่มีภาระสูงในอุตสาหกรรมนี้ เพราะแน่นนอนว่าถ้าหากรูปร่างคุณภาพของแม่พิมพ์ไม่ดีก็จะเป็นไปไม่ได้ว่าจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดี

 

ธุกิจกับเรา

ก่อนที่ YTT จะนำเครื่องสแกน3มิติมาใช้ เราได้รับคำร้องขอสำหรับเรื่องการสแกน3มิติ, การตรวจสอบ 3มิติและการจำลอง3มิติเมื่อจำเป็น ครั้งนึง เมื่อเราได้สร้างรูปแบบ3มิติจากข้อมูลการแสกน3มิติ ทั้งส่วนบนและส่วนล่างในซอฟต์แวร์ เกิดปัญหาค่าการเบี่ยงเบนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ประมาณ 1 มม. ซึ่งการเบี่ยงเบน 1 มม.ของหล่อเป็นปัญหาใหญ่ เราจึงตรวจสอบใหม่อย่างละเอียดจากโมเดล 3มิติ ที่สร้างขึ้นมาใหม่ แต่สาเหตุก็ยังไม่สามารถระบุได้ เราจึงสงสัยว่าต้นกำเนิดของพิกัดอาจจะเปลี่ยนไปในระหว่างการสแกน3มิติ ดังนั้นเราจึงได้มีการพูดคุยกับลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ปิดบังปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเราต้องการให้ลูกค้า ให้เราได้ลองสแกนอีกครั้ง ซึ่งลูกค้าได้ยืนยันว่า “โมเดลไม่มีปัญหา” การขึ้นรูปแม่พิมพ์ที่มีลักษณะต่างจากทรงเลขาคณิตจึงทำให้เกิดเป็นจุดเยื้องศูนย์(off center)ผลกระทบของการตีจะทำให้เกิดช่วงเวลาที่ทำให้แม่พิมพ์ส่วนบนเปลี่ยน ดังนั้นเราจึงได้เรียนรู้ว่าแม่พิมพ์ควรถูกออกแบบไว้ล่วงหน้า

 

การนำเข้าระบบตรวจวัด3มิติแบบไม่สัมผัส (เครื่องสแกน 3 มิติ)

เริ่มใช้ครังแรกในปี 2015
YTT ได้ตัดสินใจใช้การตรวจสอบแบบ 3 มิติเพื่อควบคุมคุณภาพชิ้นงาน เมื่อเริ่มทำการติดต่อธุรกิจกับผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งผู้ผลิตก็ยังเป็นผู้ใช้งานการตรวจสอบ 3 มิติแบบไม่สัมผัสของเราเช่นกัน โดยปกติเราจะเสนอเครื่องสแกน 3 มิติ ให้ลูกค้าโดยจะพิจารณาจาก อุปกรณ์ที่ลูกค้าของลูกค้าใช้,ความคลาดเคลื่อนที่ต้องการ และ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราจะเลือกใช้ระบบการวัด 3 มิติสองประเภท มาใช้สาธิตการทำงานของเครื่องสแกน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเครื่องสแกน 3 มิติแบบมือจับ เพราะมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ช่วยให้ลูกค้าสามารถสแกนได้ทุกที่โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายวัตถุ ซึ่งค่าความถูกต้องแม่นยำของเครื่องนี้ก็เพียงพอต่อการใช้งาน YTT จึงได้ตัดสินใจใช้เครื่องสแกน 3 มิติชนิดนี้
“ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา ใช้งานง่ายแทบจะไม่ต้องเตรียมการใดๆก่อนการวัด เจ้าหน้าที่ของ YTT จึงใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่เริ่มใช้งาน และด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ตัดสินใจเลือกเครื่องสแกน 3 มิติ” ผู้จัดการกล่าว
เพราะในความเป็นจริงแล้ว เครื่องมือนี้มีความสะดวกมากในการตรวจสอบรูปร่าง 3 มิติ ซึ่งช่วยให้สามารถวัดจุดเริ่มต้น,จุดตัด และ มุม ฯลฯ ซึ่งจะเป็นไปได้ยากที่จะทำการวัดก่อนการสแกน 3 มิติ นอกจากนี้การตรวจสอบชิ้นงานที่มีรูปทรงค่อนข้างยาก เครื่องมือวัดชนิดอื่นไม่สามารถทำได้ แต่เครื่องนี้ก็สามารถทำได้ เช่น รูปทรงแคบ และ ชิ้นงานรูปตัว R ซึ่งแน่นอนว่า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากการสแกน ให้แสดงเป็นข้อมูลในรูปแบบโมเดล 3 มิติ รวมถึงบันทึกประวัติการซ่อมแซม ก็สามารถทำได้

 

ครั้งที่สองในปี 2020
เมื่อเริ่มต้นผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่จำเป็นต้องมีการประเมินรูปทรง 3 มิติ และด้วยรูปทรงของผลิตภัณฑ์ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องมือวัด3มิติ (CMM)ที่มีอยู่ได้ จากที่ได้มีการใช้เครื่องสแกน 3มิติภายในหน่วยงานอยู่แล้วด้วยการใช้งานที่ง่ายและสะดวกสบาย จึงทำให้อีกหนึ่งหน่วยงานเกิดความสนใจในการซื้อเครื่องสแกน 3มิติซึ่งครั้งนี้จะเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด มีอัตราการสแกนและความละเอียดสูงขึ้น เนื่องด้วยคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ทุกคนประหลาดใจมากเพราะใช้เวลาเพียง 30 นาทีในการสแกนและแก้ไขข้อมูล

 

ผลการประหยัดเวลาของเครื่องสแกน3มิติรุ่นใหม่
· เครื่องสแกนรุ่นใหม่ช่วยทำให้ประหยัดเวลามากขึ้น โดยไม่ต้องทำการพ่นสเปรย์ลงบนชิ้นงาน แม้ว่าจะเป็นบนพื้นผิวที่มีความมันวาวก็ตาม (15 นาที → 0 นาที )
· ประหยัดเวลามากขึ้น ด้วยการสร้างพื้นผิวแบบอัตโนมัติ (3 ชั่วโมง → 20 นาที )
· ลดเวลาด้วยการ filling holes อัตโนมัติ(2 ชั่วโมง → 10 นาที)
· ลดเวลาด้วยฟังก์ชั่น finalizing(30 นาที → 5 นาที)
· ลดเวลาด้วยการเพิ่มคําสั่ง

 

เมื่อพูดถึงในหนึ่งวันของผู้ใช้มีเวลาในการทำงานจำกัด แต่ถึงแม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆก็สามารถทำงานได้มากขึ้น และด้วยการพกพาที่สะดวกสบายดังนั้นเครื่องสแกน3มิติจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ตอนนี้เราได้เตรียมสถานที่สำหรับตรวจวัดให้กับเครื่องสแกนโดยเฉพาะเพื่อให้หน่วยงานและแผนกอื่นๆสามารถเข้ามาใช้งานได้เมื่อต้องการ

 

เกี่ยวกับ อาซาฮิ ทรานซ์เนชั่นแนล จำกัด

บริษัทของเราก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 โดยให้บริการผลิตภัณฑ์ และบริการด้านวิศวกรรม 3 มิติ สำหรับอุตสหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรม 3 มิติ ส่วนมากจะมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของลูกค้าได้อย่างมาก ซึ่งเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการบริการของเรา จะช่วยให้ลูกค้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเราจะสนับสนุนผลักดัน เพื่อให้ลูกค้าเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ในอนาคต

 


 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง:

ผลิตภัณฑ์เครื่องวัด3มิติ